วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คอมพิวเตอร์กราฟฟิคและแอนิเมชั่นในงานทางภาพยนตร์

คอมพิวเตอร์กราฟฟิคและแอนิเมชั่นในงานทางภาพยนตร์
คอมพิวเตอร์กราฟฟิค กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาสื่อประเภทต่างๆ โดยเฉพาะการสร้างเป็นภาพยนตร์ รวมทั้งการนำมาใช้สร้างเทคนิคพิเศษ (Special Effect) ต่างๆ เช่นการระเบิด เปลวไฟ การลบบางส่วนของภาพออก รวมทั้งการนำไปใช้ในการสร้างตัวละครประกอบฉากจำนวนมาก

1 ความหมายและประวัติของคอมพิวเตอร์กราฟฟิคและแอนิเมชั่นในงานทางภาพยนตร์

คอมพิวเตอร์กราฟฟิค (Computer Graphics) เรียกย่อๆ ว่า ซีจี (CG) คือการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลเข้าอาจเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญาณต่างๆ แล้วแสดงผลลัพธ์ออกทางจอภาพที่เป็นข้อมูลเชิงเรขาคณิต เช่นรูปทรง สีสัน ลวดลาย ลักษณะแสงเงา รวมถึงข้อมูลอื่นๆของภาพ เช่นข้อมูลการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง ลักษณะการเชื่อมต่อ และความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุหรือออปเจ็กต์ในภาพ


2.ประวัติ(ต่อ) และขั้นตอนการสร้าง Animation

ปีค.ศ. 1940 คอมพิวเตอร์แสดงภาพกราฟฟิคโดยใช้เครืองพิมพ์ รูปภาพที่ได้จะเป็นภาพที่เกิดจากการใช้ตัวอักษรมาประกอบกัน

ปี ค.ศ. 1950 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาซูเซสต์ (MIT :Massachusetts Institute Technology) ได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ Whirlwind ซึ่งมีหลอดภาพ CRT (Cathode Ray Tube) เป็นส่วนแสดงผลแทนเครื่องพิมพ์ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้กองทัพสหรัฐได้พัฒนาระบบ SAGE(Semi-Automatic Ground Environment) ในการแปลงสัญญาณจากเรดาห์ให้เป็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือเป็นระบบกราฟฟิคเครื่องแรกที่ใช้ปากกาแสง สำหรับการเลือกสัญลักษณ์บนจอภาพได้

ปี ค.ศ.1963 อีวาน ซูเธอร์แลนด์ (Ivan Sutherland) พัฒนาระบบการวาดเส้นที่ผู้ใช้สามารถกำหนดจุดบนจอภาพได้โดยตรง โดยการใช้ปากกาแสง จากนั้นระบบกราฟฟิคถูกพัฒนาให้สามารถลากเส้นเชื่อมจุดต่างๆ เข้าด้วยกันกลายเป็นภาพโครงสร้างรูปหลายเหลี่ยม และต่อมาได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานของโปรแกรมช่วยการออกแบบระบบงานต่างๆ ต่อมาปี ค.ศ. 1965 ระบบที่วาดเส้นซ้ำลงที่เดิมหลายๆครั้ง มีราคาถูกลงเนื่องจากบริษัท IBM ผลิตออกขายเป็นจำนวนมาก การที่ราคาของจอภาพถูกลงทำให้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่ว ไป ในปีค.ศ.1968 บริษัท เทคโทรนิกส์ ได้ผลิตจอภาพแบบเก็บภาพไว้ได้จนกว่าต้องการจะลบ (Storage –Tube CRT) กลางปีค.ศ.1970 เป็นช่วงเวลาที่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ระบบคอมพิวเตอร์กราฟฟิคมีราคาถูกลง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคมีความแพร่หลายในงานด้านต่างๆ มากขึ้น

Animation


แอนนิเมชัน มาจากรากศัพท์ภาษาละติน มีความหมายว่าทำให้มีชีวิต ชีวา มีวิญญาณ ในความหมายรวมๆ ในปัจจุบัน มีความหมายว่าภาพเคลื่อนไหว


ขั้นตอนการสร้าง Animation



1. แนวคิด เรื่องย่อ และเนื้อหา เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เรื่องราวที่ดีสามารถจูงใจ ให้เกิดความรู้สึกร่วมได้ ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการสร้าง animation

2. การออกแบบ (Design & Art direction) เช่นการออกแบบตัวละคร ฉาก โทนสี รูปแบบ เป็นต้น

3. Story board (Blueprint) เป็นส่วนสำคัญในการถ่ายทอดเรื่องราว จากต้นฉบับให้แสดงออกมาเป็นภาพ

4. เสียงในการสร้างผลงาน animation

5. Production ขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งแบ่งตามเทคนิคที่ต้องการ ตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการทำ story board

6. ถ่ายทำ ทำการถ่ายทำผลงานในแต่ละภาพตามเทคนิคที่ทำการเลือกสร้างสรรขึ้นมา

7. Composite &Editing ตัดต่อและรวบรวมภาพทั้งหมด ทำการตัดต่อผลงานทั้งส่วนของภาพและเสียง เรียงลำดับการเล่าเรื่องตามที่กำหนดไว้ใน story board ให้เกิดผลงาน animation ที่เสร็จสมบูรณ์

3 - ความหมายและประวัติของภาพยนตร์
3.1 ความหมายของภาพยนตร์


ภาพยนตร์ คือ คือ เป็นกระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายในลักษณะที่แสดงให้เห็นภาพเคลื่อนไหว(Motion Picture) ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพนยตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่ง จำนวนมาก ที่มีอริยาบทหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็น ช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้



3.2 ประวัติภาพยนตร์


ผู้ที่คิด ประดิษฐ์ ต้บแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า "คิเนโตสโคป" (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า "ถ้ำมอง" มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที

ต่อ มาพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมองของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ "ซีเนมาโตกราฟ" (Cinematograph) นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า "ซีเนมา" (Cinema) ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน

ภาพยนตร์ ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา

รัชกาล ที่ 5 เป็นคนไทยพระองค์แรกที่ได้ชมภาพยนตร์แบบนี้ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีผู้นำมาถวายให้ทอดพระเนตรเมื่อคราวเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา ในปี พ.ศ. 2439

พ. ศ. 2440 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย (โดม สุขวงศ์ 2533 )

4 บทบาทความสำคัญ และประโยชน์ของการนำคอมพิวเตอร์กราฟฟิกและแอนิเมชั่นมาใช้ในงานทางภาพยนตร์

4.1 บทบาทและความสำคัญของภาพยนตร์


แม้ภาพยนตร์ เป็นเพียงโลกมายาที่ฉาบฉวย หรืออาจเป็นเพียงแค่ความบันเทิง แต่สำหรับการศึกษาด้านสื่อและวัฒนธรรมศึกษา (Media and Cultural Studies) แล้ว กลับให้ความสำคัญต่อการศึกษาภาพยนตร์ ด้วยเหตุผลที่ว่า โลกมายาภาพยนตร์ทีมีเป็นจำนวนมาก และใกล้ชิดในชีวิตประจำวัน เนื่องจากภาพยนตร์มีทั้งภาพและเสียงที่ดึงดูดใจผู้ชมทุกเพศทุกวัยเหนือกว่า สิ่งอื่นใด อีกบทบาทที่สำคัญของภาพยนตร์ คือการถ่ายทอดสภาพสังคมและสะท้อนวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็น คติ แนวคิด และความเชื่อ รวมถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตของคน



4.2 ประโยชน์ของการนำ CG&A มาใช้ในงานทางภาพยนตร์



- เนื้อหาของภาพยนตร์ไม่ถูกจำกัด ด้วยเทคนิคและกระบวนการสร้างภาพยนตร์ ศิลปินมีอิสระในการสร้างภาพยนตร์ โดยไม่ถูกจำกัดภายใต้กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เช่น ตำแหน่ง ความเร็ว น้ำหนักของวัตถุ และกล้อง

- ใช้เป็นเครื่องมือชิ้นใหม่สำหรับเทคนิคพิเศษ เช่นการระเบิด เปลวไฟ การลบบางส่วนของภาพออก รวมทั้งการนำไปใช้ในการสร้างตัวละครประกอบฉากจำนวนมากๆ

- การให้ความสมจริง คุณภาพของภาพที่ปรากฎในฉากภาพยนตร์ ที่เกิดจากเทคนิคพิเศษที่สร้างด้วย CG การกพัฒนาระบบที่เสมือนจริง ซึ่งสามารถสร้างสิ่งแวดล้อม 3 มิติขึ้นมารอบตัวผู้ชม ได้อย่างน่าตื่นตา

- การลดต้นทุนการผลิต สามารถลดขั้นตอนการถ่ายทำลงให้อยู่ภายในฉากเดียวกันได้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันหลายๆ เหตุการณ์

- ช่วยปรับปรุงคุณภาพการผลิต ระบบการบันทึกภาพ การควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้อง การตัดต่อและบันทึกเสียง เป็นต้น

5 ตัวอย่างการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคและแอนนิเมชันในงานทางภาพยนตร์



เป็นภาพยนตร์แอนนิเมชัน 3 มิติ ที่ได้สร้างตัวละครนักแสดงที่เหมือนมนุษย์จริงๆทั้ง รูปร่าง หน้าตา รวมถึงการเคลื่อนไหวที่เหมือนจริงอย่างมาก การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กราฟิกมาสร้างรูปแบบใหม่ให้กับวงการบันเทิง ทุกอย่างที่เห็นในภาพยนตร์ไม่มีอะไรที่มาจากธรรมชาติ ผิวหนัง เส้นผมของตัวละครสร้างด้วยสมการคณิตศาสตร์ กล้ามเนื้อเป็นโมเดลวัตถุสามมิติ เสื้อผ้า เส้นผม ที่สร้างมา หรือปลิวตามลมทุกอย่างมาจากคอมพิวเตอร์ ล้วน ๆ

อุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ในงานการสร้าง

Hardware

-SGI Octane Visual Workstations
-Server SGI Origin series 2000 4 ตัว
-SGI Onyx2 จำนวน 4 เครื่องเป็น visualization system สำหรับทำ key animation เอาทุกอย่างมารวมกันในฉากเพื่อดูภาพคร่าวๆ ว่าจะเป็นอย่างไร ก่อนจะลงมือ render จริงๆ

Software

- Alias | Wavefront Maya for SGI สำหรับ 3D animation Pixar Render Man for Linux สำหรับ render ภาพ Adobe PhotoShop PC/Mac สำหรับงานวาดภาพ งานเพนท์ งานวาดฉาก พื้นผิวที่จะเอาไปแปะบนโครงสามมิติ นอกจากนี้ทีมงานได้พัฒนา software/ plug-in เพื่อให้ได้ effect ที่ต้องการ โดยใช้ Maya API, Maya Embedded Language (MEL)


ตัวอย่างภาพยนต์เรื่อง final Fantasy



ภาพยนตร์แอนนิเมชันเรื่อง ก้านกล้วย





เป็น ภาพยนตร์ Animation 3 มิติ อิงประวัติศาสตร์แนว Fantasy Drama นำเสนอเรื่องราวของช้างก้านกล้วย ที่มีความกล้าหาญ ความซื่อสัตย์ และ ความจงรักภักดี ความโดดเด่นของ บทภาพยนตร์ และตัว Character ช้างซึ่งมีเอกลักษณ์ ที่สามารถแสดงออกถึงความเป็นไทยทำให้เป็นจุดแข็ง ก้านกล้วย ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ให้กับวงการ Animation เมืองไทย ในฐานะที่เป็นภาพยนตร์ Animation เรื่องแรกเที่มีการนำ CG และ animation มาใช้ตลอดทั้งเรื่อง

งาน หลักในการสร้างภาพยนตร์ก้านกล้วย เหมือนกับการสร้างภาพยนตร์ animation ทั่วๆไปมีการ pre-production, เขียน script, ทำ story board, อัดเสียง , งาน Animation, งานตัดต่อ , งาน Composite มีการใช้โปรแกรมอื่นเข้าช่วย เช่น โปรแกรมสำหรับ Paint สีของงาน 3 มิติ นอกจากนี้ ในส่วนที่ Software พื้นฐานไม่สามารถทำได้ก็ต้องให้ Programmer เขียนโปรแกรมขึ้นมาสร้างงานในส่วนนั้นๆด้วย เช่น การทำ Simulation หรือการสร้างตัวละครที่คล้าย ๆ กันออกมาเป็นจำนวนมากก็ต้องเขียนโปรแกรมขึ้นมา ต่างหากเช่นกัน

ใน การสร้างงาน Animation นั้น จะทำหลังจาก ที่ได้ขึ้น Model มาแล้ว โดยมีขั้นตอนที่ซับซ้อนพอสมควร เพราะต้องนำ Model นั้นมาใส่กระดูกลงไป และกำหนดในส่วน ข้อต่อของอวัยวะต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีการเคลื่อนไหวหรือ มีการงอ เช่น คอ, หัวเข่า, แขน, ขา, ข้อศอก หรือแม้กระทั่ง ปอยผมที่มีการเคลื่อนไหว นัก Animator จึงจำเป็นต้องศึกษา Anatomy ของสัตว์ต่าง ๆ ด้วยโดยเฉพาะช้าง

อุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ในงานการสร้าง

Hardware

ใช้ เครื่อง Mac เกือบทั้งหมดเพราะสามารถ Run งานที่เป็น Computer Graphic ได้ดีกว่า PC และมีความเป็นมาตรฐาน ส่วนสภาพ แวดล้อมในการทำงานนั้นต้องไม่ให้มีแสงสะท้อน สีของงาน ที่ออกมาจะได้มีความเที่ยงตรงไม่ผิดเพี้ยน

Software

- Alias Maya ใช้ในงาน Modeling และ Animation
- Adobe Photoshop, Adobe After Effect ใช้ในงาน Composite
- Final Cut Pro ใช้ในงานตัดต่อ ฯลฯ

ตัวอย่างภาพยนตร์เรื่องก้านกล้วย





อ้างอิง :

ไพศาล โมลิสกุลมงคล. (2550). คอมพิวเตอร์กราฟส์ใช้ OpenGL.กรุงเทพฯ: หจก. ไทยเจริญการพิมพ์

Link ที่เกี่ยวข้อง
http://th.wikipedia.org/wiki/ภาพยนตร์
http://www.alias.com/

ไม่มีความคิดเห็น: